เมนู

ส่วนในอรรถกถามหาปัจจรีเป็นต้น ท่านกล่าวไว้ว่า แม้ภิกษุมีความ
ต้องการด้วยผ้าสาฎก ถือเอากระสอบผ้าสาฎกนั่นแหละออกไปวางไว้ข้างนอก
แก้ออกแล้ว เห็นว่า นี้ เป็นผ้าสาฎก แล้วไปพึงปรับด้วยการยกเท้าเหมือนกัน.
แต่ในอรรถมหาปัจจรีเป็นต้นนี้ ปริกัปชื่อว่า ย่อมปรากฏ เพราะเธอได้กำหนด
หมาย สิ่งของไว้ว่า ถ้าจักเป็นผ้าสาฎก เราจักถือเอา ปริกัปปาวหาร ชื่อว่า
ไม่ปรากฏ เพราะเห็นแล้วจึงลัก. แต่ในมหาอรรถกถา ท่านปรับอวหารแก่ภิกษุ
ผู้ยกขึ้นซึ่งสิ่งของที่ตนกำหนดหมายไว้ ที่ตนมองไม่เห็น แต่คงตั้งอยู่ในความ
เป็นสิ่งของที่ตนกำหนดหมายไว้แล้วนั่นเอง. เพราะเหตุนั้นปริกัปปาวหาร
จึงชื่อว่าปรากฏในมหาอรรถกถานั้น. อวหารที่กล่าวไว้ในมหาอรรถกถานั้น
สมด้วยพระบาลีว่า ตํ มญฺญมาโน ตํ อวหริ* สำคัญว่า เป็นสิ่งนั้น
ลักสิ่งนั้น ฉะนั้นแล. บรรดาปริกัปทั้ง 2 นั้น ปริกัปนี้ใดที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้น
ว่า ถ้าจักเป็นผ้าสาฎก เราจักถือเอา ดังนี้ ปริกัปนี้ชื่อว่า ภัณฑปริกัป.

[

อรรถาธิบายโอกาสปริกัป

]
ส่วนโอกาสปริกัป พึงทราบอย่างนี้ :- ภิกษุโลเลบางรูปในศาสนานี้
เข้าไปยังบริเวณของผู้อื่น หรือเรือนของตระกูล หรือโรงซึ่งเป็นที่ทำการงาน
ในป่าก็ดี แล้วนั่งในที่นั้น ด้วยการสนทนาปราศรัย ชำเลืองดูบริขารอันเป็น
ที่ตั้งแห่งความโลภบางอย่าง. ก็แล เมื่อชำเลืองดู พบเห็นแล้ว จึงได้ทำความ
กำหนดหมายไว้ ด้วยอำนาจสถานที่มีประตู หน้ามุข ภายใต้ปราสาท บริเวณ
ซุ้มประตู และโคนไม้เป็นต้น แล้วกำหนดหมายไว้ว่า ถ้าพวกชนจักเห็นเรา
ในระหว่างนี้ เราจักคืนให้แก่ชนเหล่านั้นนั่นแหละ ทำทีเป็นหยิบ เพื่อต้อง
การจะดูเที่ยวไป ถ้าพวกเขาจักไม่เห็นไซร้ เราก็จักลักเอา ดังนี้. พอเมื่อ
//* บาลีเป็น อวหรติฯ

ภิกษุนั้นถือเอาทรัพย์นั้นล่วงเลยแดนกำหนดที่หมายไว้ไป เป็นปาราชิก. ถ้า
เธอกำหนดหมายแดนอุปจารไว้ เดินมุ่งหน้าไปทางนั่นเอง มนสิการกรรม-
ฐานเป็นต้นอยู่ก็ดี ส่งใจไปทางอื่นก็ดี ก้าวล่วงแดนอุปจารไป ด้วยทั้งไม่มีสติ
เป็นภัณฑไทย. แม้ถ้าเมื่อเธอไปถึงที่นั้นแล้ว มีโจร ช้าง เนื้อร้าย หรือ
มหาเมฆตั้งขึ้น และเธอก้าวล่วงสถานที่นั้นไปโดยเร็ว เพราะใคร่จะพ้นจาก
อุปัทวะนั้น เป็นภัณฑไทยเหมือนกัน. ก็ในคำนี้ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
เพราะในเบื้องต้นนั่นเอง เธอถือเอาด้วยไถยจิต; ฉะนั้น จึงรักษาไว้ไม่ได้
เป็นอวหารทีเดียว. นี้เป็นนัยในมหาอรรถกถาก่อน. ส่วนในมหาปัจจรี ท่าน
กล่าวไว้ว่า แม้ถ้าเธอรูปนั้น ขึ้นขี่ช้างหรือม้าอยู่ภายในแดนกำหนดไม่ขับช้าง
หรือม้านั้นไปเอง ท่านไม่ให้ผู้อื่นขับไป แม้เมื่อล่วงเลยแดนกำหนดไป ย่อม
ไม่เป็นปาราชิก เป็นเพียงภัณฑไทยเท่านั้น. ในปริกัป 2 อย่างนั้น ปริกัป
ที่เป็นไปว่า ถ้าพวกชนจักเห็นเราในระหว่างนี้ เราจักคืนแก่ชนเหล่านั้นนั่นแหละ
ทำทีเป็นหยิบ เพื่อต้องการจะดูเที่ยวไป นี้ ชื่อว่าโอกาสปริกัป. อวหารของ
ภิกษุผู้กำหนดไว้แล้วถือเอา ด้วยอำนาจแห่งปริกัป แม้ทั้ง 2 เหล่านี้ ดัง
พรรณนามาอย่างนี้ พึงทราบว่า เป็นปริกัปปาวหาร.

[

อรรถาธิบายปฏิจฉันนาวหาร

]
ส่วนการปกปิดไว้แล้วจึงลัก ชื่อว่าปฏิจฉันนาวหาร. ปฏิจฉันนาวหาร
นั้น พึงทราบอย่างนี้ :- ก็ภิกษุรูปใด เมื่อพวกมนุษย์กำลังเล่นอยู่ หรือ
กำลังเข้าไปในสวนเป็นต้น เห็นสิ่งของ คือ เครื่องอลังการซึ่งเขาถอดวางไว้
จึงเอาฝุ่นหรือใบไม้ปกปิดไว้ ด้วยคิดในใจว่า ถ้าเราจักก้มลงถือเอา, พวก
มนุษย์จักรู้เราว่า สมณะถือเอาอะไร ? แล้วจะพึงเบียดเบียนเรา จึงคิดว่า
ภายหลัง เราจักถือเอา ดังนี้, การยกสิ่งของขึ้น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ยังไม่มี